วัดธรรมาราม พระนครศรีอยุธยา
วัดธรรมาราม เป็นวัดโบราณสร้างแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อยู่ที่ตำบล บ้านป้อม อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จะสร้างมาแต่รัชสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎหลักฐาน สร้างมาไม่น้อยกว่า 414 ปี ที่ตั้งของวัดปัจจุบัน ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อพม่า ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา คราใด พม่าจะมาตั้งค่ายที่วัดนี้ทุกครั้ง เพื่อควบคุมเส้นทางคมนาคม ทางน้ำ เพราะเหนือวัดนี้ไปเพียงเล็กน้อยคือที่หัวแหลมเป็นปากน้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำ เจ้าพระยา อันเป็นจุดยุทธศาสตรที่สำคัญแห่งหนึ่ง และป้องกันการเคลื่อนย้ายกำลังของไทยมาจาก ภายนอกเสริมกำลังในเมืองหลวงได้เป็นอย่างดีเพราะด้านหลังวัดธรรมารามเป็นทุ่งกว้าง มีชื่อว่าทุ่ง ประเชต อันเป็นหนึ่งในสามของทุ่งที่มีการสัปประยุทธกันอย่างโชกโชนระหว่างไทยกับพม่า ทุ่งทั้งสามมีนามดังนี้ คือ ทุ่งพุดเลา ทุ่งชายเคือง และทุ่งประเชต มีเส้นทางไปสุพรรบุรีและวิเศษ ชัยชาญ เนื่องจากวัดตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกตรงข้ามกับพระราชวังหลวง จึงเป็นหนึ่งในสี่ของท่าข้าม ในสมัยนั้น ซึ่งมีท่าข้ามวัดธรรมาราม ท่าข้ามวัดกษัตราธิราช ท่าข้ามวัดราชพีร์ และท่าข้ามวัดไชย วัฒนาราม ก่อนเสียกรุงครั้งแรก บุเรงนองแม่ทัพพม่า ได้กรีธาทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดิน พระมหินทราธิราช พ.ศ.2112 และมีค่ายที่หนึ่งของพม่าตั้งที่วัดธรรมาราม พม่าทำอุบายปล่อย เจ้าพระยาจักรี อดีตแม่ทัพไทย ซึ่งพม่าล้อมจับได้ที่ทุ่งลุ่มพลี โดยเกลี้ยกล่อมเจ้าพระยาจักรี ให้เข้าด้วยกับฝ่ายตน ด้วยการเอาลาภเข้าล่อ จนเจ้าพระยาจักรีเห็นผิดเป็นชอบยอมเป็นเครื่องมือ ของพม่า เมื่อปล่อยเจ้าพระยาจักรีข้ามไปเข้าเมือง โดยใช้ท่าข้ามวัดธรรมารามแล้ว พม่าก็ทำอุบาย ขึ้นมาอีกจับทหาร 30 คน หาว่าเป็นผู้คุมแล้วปล่อยให้เชลยหนีไปได้จึงฆ่าเสีย แล้วเสียบศีรษะ ประจานไว้ที่หน้าค่ายวัดธรรมารามแห่งนี้ อนึ่งวัดนี้ หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.2310 อันเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้าย พม่าได้เผาทำลายเสียสิ้นกลายเป็นวัดร้าง จนถึงรัชกาลที่ 1 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ และพระโอรสทรงศรัทธาเสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว ได้ประทานนามให้ใหม่ว่า “วัดราชธรรมาวาศวรวิหาร” มีฐานะเป็นพระอารามหลวงวัด